วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.



เนื้อหาที่เรียน

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้มาอธิบายแผนอีกครั้งและบอกการแก้ไขงานอีกรอบหนึ่งอย่างละเอียดและถ้านักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหนหรือจะปรับเปลี่ยนตรงไหนอาจารย์ก็ให้ถามได้เลยและอาจารย์ก็จะบอกและอธิบายให้ฟัง
และอาจารย์ยังให้เตรียมอุปกรณ์ในการอัดคลิปสอน
กระดาษA4 2แผ่นต่อกัน ปากกาสี  ดินสอ และอัดคลิปสอนในแผนวันอังคารด้วย





คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

                             talk          สนทนา
                             write        เขียน
                             sure         มั่นใจ
                             read         อ่าน
                             ready       พร้อม


ประเมินอาจารย์    อาจารย์สอนอย่างละเอียดชัดเจน
ประเมินเพื่อน       สนใจเรียนและทำงานตามที่ได้รับอบหมาย
ประเมินตนเอง      สนใจที่อาจารย์สอนอย่างเต็มที่




วิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย









บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2563

เวลา 08:30 - 12:30 น.




เนื้อหาที่เรียน

     สัปดาห์นี้อาจารย์ให้ร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก   หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ   หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย


เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน     อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน         หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน   
อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์


และอาจารย์ก็ยังมาทบทวนเรื่องการเขียนแผนให้ฟัง

และอาจารย์ก็ยังให้อัดคลิปสอนให้เตรียมอุปกรณ์ที่จะให้สอนเป็นตัวอย่าง มี อุปกรณ์ เเละขั้นตอนการสอนดั้งนี้  เอากระดาษตัดเป็นวงกลมเขียนเลข 9 ติดไว้กับไม้  ข้าวสารใส่ในเเก้ว กระดาษเอ 4   ปากกา ดินสอ

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

                          paper         กระดาษ
                          read           อ่าน
                          room          ห้อง
                          size            ขนาด
                          study          เรียน



ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนดีมากและก็ถามทุกรอบว่าเข้าใจไหมอธิบายชัดเจน
ประเมินเพื่อน     สนใจฟังและทำงานที่อาจารย์มอบหมายได้ดี
ประเมินตนเอง     สนใจฟังที่อาจารย์สอน









บันทึกการเรียนครั้งที่  11 
วันจันทร์ ที่ 13  เมษายน   พ.ศ. 2563 
เวลา 08:30-12:30 


เนื้อหาที่เรียน

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ดูการจัดกิจกรรมมุมคณิตศาสตร์ในห้องเรียนเกี่ยวกับจำนวน  การนับ รูปเรขาคณิต  จัดเตรียมสื่อตัวเลข    จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้  เช่น  ชิ้นส่วน  รูปเรขาคณิต   และมุมต่างๆเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และยังสอนเกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์เพื่มเต็มอีก  

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                 
                   idea            ความคิด
                   learn          เรียนรู้
                   main           สำคัญ
                   mark          เครื่องหมาย
                   notice        สังเกต


ประเมินอาจารย์     สอนอย่างชัดเจนให้นักศึษาเข้าใจ
ประเมินเพื่อน        ฟังสนใจที่อาจารย์สอนและไม่เล่นกัน
ประเมินตนเอง       สนใจฟังที่อาจารย์และอธิบาย








บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 
วันจันทร์ ที่  30  มีนาคม พ.ศ. 2563
 เวลา 08:30-12:30 น.



เนื้อหาที่เรียน

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ดูงานและอธิบายงานให้ฟังอีกรอบและให้ไปแก้ไขปรับเปลี่ยนแผนในแต่ล่ะวันใหม่อีกครั้งให้ถูกต้อง


ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์วันพุธ
การดูแลรักษาต้รมะละกอ ( แก้ไข )




คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

                       air                อากาศ
                       between      ระหว่าง                                              
                       change         เปลี่ยน
                       form            รูปแบบ
                       hour            ชั่วโมง
 
ประเมินอาจารย์   อาจารย์สอนอธฺิบายให้เราเกิดความเข้าใจล่ะมาแก้ไขงานได้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน   ตั้งใจฟังงานที่อาจารย์อธิบายอีกรอบ
ประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังงานที่อาจารย์อธิบายอีกรอบ







เพลง 1 ปี มี 12 เดือน




วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 
เวลา 08:30-12:30 



เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ในแต่ละวันการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรักเด็กปฐมวัย
 องค์ประกอบ 
- วัตถุประสงค์
- สาระที่ควรเรียนรู้
- เนื้อหา
- แนวคิด                                                                                
- ประสบการณ์สำคัญ
- กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
- บูรณการทักษะรายวิชา

- กิจกรรมเสริมประสบการณ์


                             ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์วันพุธด หน่วยมะละกอ





วัตุประสงค์
เพื่อให้เด็กสามารถ
1.บอกลักษณะการเจริญเติบโตของต้นมะละกอได้
2.บอกวิธีการบำรุงต้นมะละกอได้
3.บอกลำดับขั้นตอนการดูแลต้นมะละกอได้
สาระที่ควรเรียนรู้
ให้เด็กได้รู้ถึงวิธีการดูแลรักษาต้นมะละกอกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.ครูนำวิดีโอมาให้เด็กๆดูก่อนลงมือดูแลต้นมะละกอ
 ขั้นสอน
1.ครูสนทนาและถามถึงเนื้อหาในวิดีโอ
2.ครูสนทนากับเด็กเรื่องการดูแลต้นมะละกอและพูดถึงประสบการณ์เดิมของเด็ก
3.ครูให้เด็กนำต้นมะละกอมาเรียงกันแล้วเปรียบเทียบว่าต้นไหนเล็กที่สุดและต้นใหญ่ที่สุ
 ขั้นสรุป
   1.ครูและเด็กสนทนาและสรุปเกี่ยวกับการดูแลต้นมะละกอ
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.ภาพ/วิดีโอการดูแลรักษาต้นมะละกอ
2.ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลต้นมะละกอ
3.ภาพ/วิดีโอการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ
การวัดและประเมินผล
- สังเกตพฤติกรรมเด็กผ่านกิจกรรม
-ฟังจากการตอบคำถาม
การบูรณาการ
1.พื้นฐานคณิตศาสตร์ จำนวน ลำดับขั้น
2.ภาษา


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

                         Papaya          มะละกอ
                         Hoe              จอบ
                         Spade           พลั่ว, เสียม
                         Rake             คราด
                         Abundance   ความอุดมสมบูรณ์
 

ประเมินอาจารย์  อาจารย์สอนได้ดีพูดอธิบายถามจนนักศึกษาเข้าใจ
ประเมินเพื่อน     สนใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตนเอง    สนใจที่อาจารย์สอนและทำงานอย่างเต็มที





เพลง แมวเมี้ยว











สรุปวิจัย


เรื่อง  ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
ที่มา ปานิตา  กุดกรุง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติกลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 15คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยการทดลอง สัปดาห์ล่ะ 3วัน วันล่ะ50 นาที ร่วมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิน 24 ครั้ง                 
   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .864 ที่ผูกวิจัย สร้างขึ้น แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ One - Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ขอมูลใช้ t - test สําหรับ dependent samples ผลการวิจัยพบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01



สรุปบทความ



เรื่อง เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์
ที่มา  โดย ผศ.ดร.สมวงษ์ แปลงประสพโชค


   เราเรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร

  เป้าหมายสูงสุดของการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ

หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นต้องเรียนคณิตศาสตร์มากนัก บวก ลบ คูณหารจำนวน เราก็มีเครื่องคิดเลขใช้แล้ว
 นับว่าเป็นความเข้าใจผิด คณิตศาสตร์มิใช่เพียงต้องให้คิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้น
 ในโลกยุคปัจจุบันเมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์ เราควรได้คุณสมบัติต่อไปนี้จากการเรียน
  1. ความสามารถในการสำรวจ
  2. ความสามารถในการคาดเดา
  3. ความสามารถในการให้เหตุผล
  4. ความสามารถในการนำความรู้ ไปใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัตินี้เรียกว่า ศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ( Mathematical Power )
ไม่ว่าเราจะมีอาชีพอะไรถ้าเรามีคุณสมบัตินี้ เรียกได้ว่าเป็นคนที่มีศักยภาพทางคณิตศาสตร์

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ถ้าเราถูกสอนโดยวิธีครูบอกความรู้ หรือเทคนิคลัด ๆ ให้ท่องจำ
นำไปใช้โดยปราศจากความเข้าใจ ไม่รู้ที่มา ไม่รู้เหตุผล เราก็จะไม่ได้คุณสมบัติดังกล่าว


 อะไรคือหัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์
เมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา เราควรได้สิ่งต่อไปนี้
    1. มีความรู้ใน คำศัพท์ บทนิยาม หลักการ ทฤษฎีบท โครงสร้าง วิธีการ
    2. มีความเข้าใจ ในความคิดรวบยอดจนสามารถอธิบายได้ หรือเขียนได้ หรือยกตัวอย่างได้
   แปลงปัญหาจากรูปหนึ่งไปสู่รูปหนึ่งได้ ประมาณคำตอบได้ ระบุความสัมพันธ์ได้ ตรวจสอบผลที่เกิดได้
   3. มีทักษะต่าง ๆ ดังนี้ ทักษะการแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ
    การวัด การประมาณ การอ่านและแปลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การทำนาย และการใช้คอมพิวเตอร์
  4. มีความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้

เราจะมีวิธีเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้ได้ดี
 เราต้องเริ่มฝึกฝนการเป็นผู้เรียนที่ดี
  1. เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือถามผู้รู้ต่อไป
  2. หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
  3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป  และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้นถ้าทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย   
 4. ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
 5. ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม  ต้องทำความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป  ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมาก ๆ เช่นโจทย์แข่งขัน เป็นต้น

ทำไมเด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์
 มีหลายสาเหตุ บางคนไม่ชอบเพราะไม่ถนัด มันยากเกินไป ไม่ชอบคิด
พวกนี้ไม่ค่อยจะประสบผลสำเร็จในการทำแบบฝึกหัด
มักทำไม่ได้หรือทำผิดบ่อย ๆ จึงท้อแท้ เบื่อหน่าย และเกลียดในที่สุด
บางคนไม่ชอบเพราะครูสอนไม่เข้าใจ สอนไม่สนุก ครูดุ จู้จี้ขี้บ่น ให้การบ้านเยอะ

ทางแก้อยู่ที่ครูจะต้องสำรวจว่าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์เพราะอะไร
ครูต้องปรับปรุงการสอนทำของยากให้เป็นของง่าย ทำของน่าเบื่อหน่ายให้น่าสนุก
และควรปรับปรุงบุคลิกให้ไม่ดุจนเกินไป ไม่เจ้าระเบียบมากจนเกินเหตุ
การบ้านก็มีแต่พอควร เลือกให้เด็กทำสิ่งที่สำคัญและจำเป็นก่อน

ถ้าเราเลือกครูไม่ได้ บังเอิญเราต้องเรียนกับครูที่สอนไม่รู้เรื่อง สอนไม่สนุก ดุ จู้จี้ขี้บ่น
เราต้องหาตำราหลาย ๆ เล่มมาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เมื่อไม่เข้าใจให้ปรึกษาผู้รู้
ถามกันอธิบายกันในหมู่เพื่อน ๆ เราต้องใช้ความอดทนมากขึ้น ในที่สุดเราจะพบว่า เราเป็นคนเก่งคนหนึ่ง

บทเรียนคณิตศาสตร์อะไรที่มีปัญหามากที่สุด
 เรื่องที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ โจทย์ปัญหาทุกเรื่อง
วิธีการเรียนเรื่องนี้ให้ได้ดี ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจโจทย์เสียก่อน มีคำศัพท์อะไรที่เราไม่รู้จักหรือลืม
มีข้อความตอนใดที่เราไม่เข้าใจ เราต้องทำความเข้าใจก่อน
โจทย์ถามอะไร และโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้าง อาจวาดภาพช่วย อาจสร้างตารางช่วย
ขั้นต่อไปวางแผนแก้ปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหา และสุดท้ายเราต้องตรวจสอบคำตอบ
ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ แนะนำโดย จอร์จ โพลยา ได้รับความนิยมมากว่า 50 ปี

ที่สำคัญเราควรฝึกการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อสะสมประสบการณ์ยุทธวิธีการแก้ปัญหา

ตัวอย่างปัญหาในระดับมัธยมศึกษาที่เด็กในระดับประถมศึกษาก็แก้ได้
มีนกและหนูรวมกัน 15 ตัว นับขารวมกันได้ 40 ขา ถามว่ามีนกและหนูอย่างละกี่ตัว
เด็กระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมักจะใช้วิธีแก้สมการ เด็กระดับประถมศึกษาจะใช้วิธีวาดภาพ หัว 15 หัว
แล้วเติมขาทีละ 2 ขา ได้ 30 ขา เหลือขาอีก 10 ขา นำไปเติมจะได้หนู 5 ตัว
เด็กบางคนใช้วิธีลองผิดลองถูกเช่นสมมุติว่ามี นก 7 ตัว มีหนู 8 ตัว แล้วคำนวณขาว่าได้ 40 ขา หรือไม่
ถ้าไม่ได้ก็ลดหรือเพิ่มจำนวนตัวสัตว์ไปเรื่อย ๆ ก็จะพบคำตอบซึ่งอาจช้า
บางคนอาจสร้างตารางแจงนับทุกรูปแบบเริ่มตั้งแต่ นก 1 ตัว หนู 14 ตัว จนถึงนก 14 ตัว หนู 1 ตัว
แล้วตรวจสอบนับจำนวนขาจะได้คำตอบเช่นกัน

 จะมีวิธีเตรียมตัวสอบอย่างไร
 วิธีหนึ่งสำหรับคนที่มีเวลาน้อย เริ่มด้วยการทบทวนบทนิยาม สูตร กฎ วิธีการจากโน้ตย่อ
จากนั้นทบทวนวิธีการแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหา โดยนึกว่าแผนการแก้ปัญหาสำหรับโจทย์ข้อนี้จะเป็นอย่างไร
แล้วตรวจสอบจากเฉลยที่เราทำแบบฝึกหัดไว้ เราไม่ต้องลงมือแก้ปัญหาจริง เพียงแต่คิดวิธีการ   โดยเฉพาะข้อยากเราต้องคิดก่อน
แต่ถ้าเรามีเวลามากเรา ก็อาจทบทวนโดยลงมือแก้ปัญหาอีกครั้งก็จะทำให้เราได้ ฝึกฝนความแม่นยำ

 คนที่เก่งคณิตศาสตร์จะมีประโยชน์อย่างไร
 คนที่เก่งคณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง เพราะคณิตศาสตร์มิใช่เป็นเพียงราชินีของวิทยาศาสตร์
ดังเช่นที่เกาส์นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่กล่าวไว้ในอดีตเท่านั้น

ปัจจุบันคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของศาสตร์อีกหลายสาขา  เช่น วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ฯลฯ
เราลองนึกภาพถ้าเรามีเกษตรกรที่เก่งคณิตศาสตร์
เราคงจะได้ปุ๋ยสูตรใหม่ ๆ การกำจัดแมลงวิธีใหม่ หรือพืชพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะกับบ้านเรา
หรือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทำเกษตรกรรมอย่างคุ้มค่า
ตลอดจนแปรรูปผลิตผลทางเกษตรให้เป็นสินค้า ที่จะนำรายได้สู่ครอบครัวหรือประเทศ
เรามีคนที่มีคุณสมบัติอย่างนี้น้อยมาก

ประเทศชั้นนำของโลกให้ความสำคัญต่อคณิตศาสตร์อย่างยิ่ง
บางประเทศพัฒนาเด็กจนสามารถมีเด็กเก่งคณิตศาสตร์ได้ถึงร้อยละ 40 เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน
บางประเทศถ้าเห็นว่าคณิตศาสตร์ของประเทศตนแย่ลงเพียงเล็กน้อย ก็จะทุ่มเทให้ความสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา

แต่ประเทศเรามีคนเก่งคณิตศาสตร์ตามธรรมชาติปริมาณไม่เกินร้อยละ3
โดยที่ความเก่งนั้นเมื่อเทียบกับต่างประเทศเรายังอยู่ในอันดับท้าย ๆ เราให้ความสำคัญในด้านนี้น้อยเกินไป
ประเทศเรามีนักคณิตศาสตร์ประมาณ 30 คน มีคนเล่าว่าเวียตนามมีถึง 600 คน
ปัจจุบันเราต้องจ้างศาตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ชาวเวียตนาม มาสอนในมหาวิทยาลัย